หลักสูตร การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้ดูแลระบบ
📒 หลักสูตร การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้ดูแลระบบ สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว การรับส่งข้อมูลสำคัญ การทำธุรกรรมสำคัญ การเผยแพร่ข้อมูล แม้แต่การลงนามรับรองสามารถทำได้ผ่านระบบดิจิทัลและส่งผ่านข้อมูลบนโลกไซเบอร์ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ทำให้ผู้ที่ต้องการเจาะระบบพยายามทดลอง ไม่หวังดี และค้นหาช่องโหว่มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเป็นสิ่งที่พึงตระหนักถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการให้บริการที่อยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์มของหน่วยงานรวมถึงเว็บไซต์ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งผู้ดูแลระบบและผู้เกี่ยวข้องควรมีความรู้ความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พื้นฐาน สำนักคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องจัดอบรมให้กับนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ผู้ดูแลระบบและผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พื้นฐานมุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักรู้ความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมทั้งมีความรู้และความเข้าใจในภัยคุกคามไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมีความรู้เบื้องต้นในวิธีการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
2. วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัยและแก้ปัญหาได้เมื่อต้องพบกับภัยคุกคาม
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ : สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- จำนวนผู้เข้าอบรมเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ของคณะ/หน่วยงาน จำนวน 80 คน
- ผู้ดูแลระบบหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลของคณะ/หน่วยงาน จำนวน 10 คน
4. วิทยากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรวย สาวิถี
5. วิธีการอบรม : บรรยายพร้อมปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง
6. สถานที่ : ห้อง B412 ชั้น 4 สำนักคอมพิวเตอร์
7. วันและเวลาการอบรม : วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00-12.00 น.
8. เนื้อหาหลักสูตร (3 ชั่วโมง)
9.1 รูปแบบภัยคุกคามของ CyberSecurity
9.2 ความตระหนักรู้ด้าน CyberSecurity ในชีวิตประจำวัน
9.3 แนวทางป้องก้น server และเว็บไซต์ ในด้านผู้ดูแลระบบ
9.4 การเอาดาวน์โหลดโคดที่อันตรายมาใช้งานในเว็บไซต์
9.5 การป้องกันการโจมตีในรูปแบบต่างๆ
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับ CyberSecurity
- ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัยและแก้ปัญหาได้เมื่อต้องพบกับภัยคุกคามได้ทันที
(ใช้อีเมล์ @msu.ac.th ในการลงทะเบียน)